เรื่องของ ‘ภาษี’ ที่คนทำธุรกิจร้านอาหารต้องรู้!

วิชาภาษี 101 เปิดร้านอาหารต้องมีภาษีอะไรบ้าง? ทำความเข้าใจเรื่องภาษีขั้นพื้นฐานที่ง่ายกว่าที่คิด ร้านไหนๆ ก็เข้าใจได้!

เรื่องของ ‘ภาษี’ ที่คนทำธุรกิจร้านอาหารต้องรู้! 

เรื่องของ "ภาษี" ง่ายกว่าที่คิด! สำหรับคนที่ทำร้านอาหาร เรื่องภาษีนั้นถือว่าเป็นทักษะสำคัญที่ควรรู้ เพราะหากทำความเข้าใจได้แล้ว ก็จะสามารถจัดการเรื่องภาษีได้ง่ายๆ ในทุกๆ ปีอย่างไม่มีปัญหา Wongnai for Business ขอสรุปข้อมูลเรื่องของ ‘ภาษี’ ที่คนทำร้านอาหารต้องรู้! ตอบคำถามที่พบบ่อยในแวดวงคนทำร้านอาหาร มาติดตามหาคำตอบไปพร้อมๆ กันได้เลยครับ

คนทำร้านอาหารทุกคนต้องเสียภาษีหรือเปล่า?

ต้องทำความเข้าใจว่า เราทุกคนจะต้องเสียภาษีอยู่แล้วครับ ไม่ว่าจะทำอาชีพไหน โดยเราอาจจะเสียภาษีตั้งแต่ในรูปแบบของภาษี ณ ที่จ่าย เข่น การซื้อของตามห้างร้าน การนั่งทานอาหารตามร้าน เป็นต้น

เขยิบขึ้นมาอีกนิดสำหรับคนที่มีรายได้ในทุกๆ อาชีพ ภาษีที่จะต้องจ่ายก็คือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยเกณฑ์ของกรมสรรพากรคือถ้ามีรายได้เกิน 150,000 ต่อปีก็มีโอกาสต้องเสียภาษีเพิ่ม ที่บอกว่ามีโอกาสต้องเสียเพิ่มเพราะว่า เราสามารถนำค่าใช้จ่ายส่วนอื่นๆ มาลดหย่อนได้อีกมากมาย จนบางครั้งก็อาจจะไม่ต้องจ่ายภาษีเพิ่มนั่นเองครับ

ช่วงเวลายื่นตรวจสอบภาษีปีละ 2 ครั้ง คือ

ครั้งที่1 ภ.ง.ด.94 (ภาษีกลางปี) ยื่นภายในเดือนกันยายน

สามารถยื่นด้วยตัวเองที่สำนักงานสรรพากรทั่วประเทศ หรือยื่นออนไลน์ได้ที่เว็บไซต์ www.rd.go.th (ยื่นออนไลน์อาจยื่นได้ถึงต้นเดือนตุลาคม)

ครั้งที่ 2 ภ.ง.ด.90 ยื่นภายในเดือนมีนาคมของปีถัดไป

สามารถยื่นด้วยตัวเองที่สำนักงานสรรพากรทั่วประเทศ หรือยื่นออนไลน์ได้ที่เว็บไซต์  (จะได้รับสิทธิขยายเวลายื่นภาษีไปอีก 8 วัน)

กรณีที่รายได้ไม่ถึง 150,000 ต่อปี ต้องยื่นไหม คำตอบ คือ ยื่นครับ โดยกรรมสรรพากรจะเก็บเป็นประวัติรายได้เอาไว้ แต่เราไม่จำเป็นต้องเสียภาษีเลยสักบาทเดียวครับ

เป็นร้านเล็กๆ ต้องยื่นไหม? ถ้าไม่ยื่นมีโอกาสจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง

ไม่ว่าร้านเล็กหรือร้านใหญ่ มีรายได้มากหรือน้อย ก็ควรต้องยื่นภาษีในทุกๆ ปีครับนะครับ แต่จะต้องจ่ายเพิ่มหรือเปล่านั่นอีกเรื่องหนึ่ง และสำหรับร้านที่มีรายได้เกิน 1,800,000 ต่อปี นั้นจะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (Vat 7%) ภายใน 30 วัน และต้องทำการยื่นภาษีแบบ ภ.พ.30 ภายในวันที่ 15 ของรอบเดือนถัดไปด้วยครับ 

ส่วนร้านที่ไม่เคยยื่นมาก่อน ควรยื่นไหม หรือปล่อยเลยตามเลย

สำหรับร้านที่ไม่เคยยื่นมาก่อน หากรายได้ไม่ถึงเกณฑ์ที่กำหนด จะไม่เป็นปัญหาใดๆ แต่หากกรมสรรพากรตรวจสอบแล้วพบว่ารายได้ต่อปีเกินจากนั้น อาจมีการเรียกเก็บย้อนหลังไปตามระเบียบ และการหลบหลีกหรือไม่ยื่นเลยนั้นไม่ใช่ทางออกที่ดี เพราะยิ่งนานไป หากกรมสรรพากรตรวจสอบพบก็อาจโดนเรียกเก็บค่าปรับแถมมาด้วย
สรุป : เจ้าของร้านอาหารทุกร้านต้องยื่นตรวจสอบภาษี แต่จะต้องจ่ายภาษีเพิ่มหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับการคำนวณรายได้ ค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อนภาษีของแต่ละคน จ่ายเพิ่มมากหรือน้อยก็แล้วแต่คน หรือไม่ต้องจ่ายเพิ่มเลยก็มีครับ

การเข้าร่วมเดลิเวอรีต้องเสียภาษีด้วยไหม?

สำหรับร้านอาหารที่ทั้งเปิดหน้าร้านและเดลิเวอรีนั้น เวลายื่นตรวจสอบภาษีจะต้องนำรายได้ทั้ง 2 ช่องทางมารวมกันด้วยนะครับ โดยกรมสรรพากรนั้นจะมีฐานข้อมูลร้านเดลิเวอรี รวมถึงรายได้ในแต่ละเดือน จากการที่แพลตฟอร์มเดลิเวอรีต้องยื่นเสียภาษีในทุกๆ เดือนอยู่แล้ว ดังนั้นไม่ว่าจะเปิดหน้าร้านด้วย หรือขายผ่านแอปเดลิเวอรีอย่างเดียวก็จำเป็นต้องยื่นภาษีในทุกๆ ปีเช่นกันครับ 

ไม่ยากเลยใช่ไหมครับ สำหรับการลองทำความเข้าใจเรื่องการยื่นภาษีและจ่ายภาษีของคนที่เปิดร้านอาหาร อย่างที่เคยบอกไปว่าไม่ว่าจะทำอาชีพไหนก็จำเป็นต้องยื่นภาษี และจ่ายภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในกรณีทีรายได้ถึงเกณฑ์ 

นอกจากนี้หากเป็นร้านที่มีขนาดใหญ่ขึ้น อาจจะมีค่าใช้จ่ายในส่วนนี้เพิ่มขึ้นด้วย เช่น ภาษีภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับร้านที่ต้องซื้อวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือในการประกอบกิจการ ภาษีศุลกากร กรณีทีร้านมีการนำเข้าวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือในการประกอบธุรกิจ ภาษีที่ดิน ภาษีป้าย รวมถึงภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย กรณีที่ร้านมีลูกค้าที่มีเงินเดือน 26,000 ขึ้นไปนั่นเองครับ

👉 ศึกษาเรื่องภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และวิธีคำนวณภาษีที่ได้ : iTax
👉 ติดตามข่าวสารเรื่องภาษีจากกรมสรรพากร ได้ที่ www.rd.go.th